จำนองที่ดิน นำ ที่ดิน ไปจำนองกับผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกัน

ความต้องการใช้เงินที่เร่งด่วนทั้งเพื่อการเสริมสภาพคล่องหรือการขยายธุรกิจ หลายคนศึกษาหาแหล่งของเงินทุนที่ดีที่สุด ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการ และมีเงื่อนไขที่ตนเองยอมรับได้ โดยการทำนิติกรรมต่าง ๆ มีความซับซ้อนในเชิงรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยหลักที่เป็นตัวแปรในการตัดสินใจของผู้กู้ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลากู้ ยอดเงินกู้ที่สามารถกู้ได้ ระยะเวลาในการอนุมัติ และสินทรัพย์หรือบุคคลที่ต้องใช้เพื่อการค้ำประกันเงินกู้ เป็นต้น มาทำความรู้จักกับประเภทของนิติกรรมขายฝากที่ดิน จำนองที่ดินและจำนำที่ดิน เพื่อไม่ให้เสียโอกาสและตรงตามความต้องการ

จำนอง คือ การที่ “ผู้จำนอง” เอาทรัพย์สินของตนตราไว้แก่ “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง
การจำนองที่ดินเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โดยการ จำนองที่ดิน เป็นการนำเอาโฉนดที่ดินไปมอบให้แก่ผู้รับจำนองที่ดิน ซึ่งเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิ์ในโฉนดจะเป็นเพียงการเก็บโฉนดไว้เท่านั้น ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น แต่ยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินและสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ การทำธุรกรรมจะต้องดำเนินการต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินเช่นเดียวกับการขายฝากที่ดิน ซึ่งหากผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้จะต้องดำเนินคดีฟ้องร้องตามกฎหมายเท่านั้น แล้วก็นำที่ดินไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้

ขายฝากที่ดิน คืออะไร
การทำนิติกรรมขายที่ดิน ผู้ขายฝากขายที่ดินให้แก่ผู้รับซื้อฝาก โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างกัน ซึ่งหลายคนอาจกลัวว่าจะโดนโกงหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ความเป็นจริงแล้วการขายฝากไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากผู้ขายฝากที่ดินเลือกใช้บริการขายฝากที่ดินกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ โดยการขายฝากที่ดินนั้นจะอยู่ภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ซึ่งต้องทำธุรกรรมเป็นเอกสารสัญญาและจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น สัญญาขายฝากมีการระบุข้อตกลงต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้
– ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
– รายการและลักษณะแห่งทรัพย์สินที่ขายฝาก
– ราคาที่ขายฝาก
– จำนวนสินไถ่ (ดอกเบี้ยขายฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไม่เกิน 15% ต่อปี)
– กำหนดวันครบกำหนดไถ่ (ไม่เกิน 10 ปี)

ดังนั้นผู้ขายฝากที่ดินสามารถนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและตกลงกัน